วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ




      เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการสังคม ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณธรรม คุณภาพ และทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมไทย และประเทศไทย  วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นเลิศทางความคิด (ปัญญาและความดี) ทางวิชาการ (ความรู้ สู่อาชีพ) และการดำรงชีวิต (การปฏิบัติสู่ความสุข) ควบคู่กันไปทั้งสามด้าน เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยคุณภาพแห่งชีวิต
มาร์ช วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
                                   ณ     ถิ่นแดงขาวทองแห่งนี้    คือสถาบันที่ทรงคุณค่า                        
                           ใกล้ไกลต่างหมายมุ่งมา                 วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ       
                           พัฒนาวิชาการ   ก้าวล้ำ                  คุณธรรมยึดไว้แน่วแน่  
                          ใช้ปัญญาส่องสว่างรุ่งเรือง               รักเพื่อนมนุษย์เสมือนตนเอง  
                          กัลปพฤกษ์ยืนต้น  เด่นสง่า               ย้ำเตือนพาสร้างสงบทุกแห่งหน  
                          ความเป็นไทยรักษาไว้ทุกคน            สามัคคีเชื่อมใจคนดุลเชือกเกลียว  
                          ณ ถิ่นแดงขาวทองแห่งนี้                  บี เอส ซี  เรางามสง่า  
                         จะร่วมกันสร้างชาติพัฒนา                 วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ  

การเรียน ป.บัณฑิต   
              ตอนแรกก็ไม่คิดที่จะเรียน แต่พอคิดอีกทีว่าตัวเองก็มาทางด้านนี้แล้วน่าจะมำให้มันดีกว่าเดิม ก็เลยตัดสินใจที่จะเรียน ป.บัณฑิต ขึ้นมา ตอนรุ่นที่ 1 ยังคิดเสียดายอยู่เลยเพราะว่าตนเองไม่ได้ทราบข่าวคราวอะไรเลยว่ามีการเรียนที่ โรงเรียนบริหารธุรกิจกรุงเทพ แถวเชิงสะพานพระโขนง มารู้เอาตอนหลังรุ่นพี่เขาก็กำลังจะเรียนจบแล้ว พอดีว่าวันนั้น รศ.ดร.สุวัฒน์ เข้าไปนิเทศน์รุ่นพี่ที่โรงเรียน ก็เลยมาลองคุยกับ  รศ.ดร.สุวัฒน์ หลังจากนั้นก็สมัครผ่านดินเตอร์เน็ต แล้วมาขำระเงินภายหลัง ก่อนเปิดเรียนจริงๆก็เครียดเหมือนกันว่าตัวเองจะเรียนไหนมั้ย เรียนด้วยทำงานด้วย คงจะเหนื่อยน่าดู แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ต้องทำใจยอมรับความจริง เพื่อนๆก็เก่งๆกันทุกคนเลยแต่ละคนก็มีความสามารถแตกต่างกันออกไป เรียนแค่ 5 ครั้งก็สอบ ก่อนสอบทีไรเคลียดทุกที แต่เราก็ต้องสู้และทำหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด ผลที่ได้รับกลับมาก็ดีเกินคาด บางทีก็ยังคิดเลยว่า ได้มาได้อย่างไร งง งง บ้างบางครั้ง แต่ก็แอบปลื้มใจสุดๆ
สิ่งที่ได้รับจากการที่มาเรียนที่วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ             
               สิ่งที่ได้รับจากการที่มาเรียนที่วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ อันดับแรกเลยคือ ได้เพื่อน แม้ว่าเราจะไม่เคยรู้จักกันเลย แต่ตลอกระยะเวลาที่ผ่านมาซึ่งพอเราเพิ่งจะได้สนิทกันมากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าเวลามันจะน้อยซะแล้ว เหลือเวลาอีกแค่ วิชาเดียวเท่านั้นก็จะจบแล้ว เร็วเหมือนกัน รู้สึกว่าเพาเพิ่งจะเรียนไปเองนะ จะจบแล้วเหรอ เพื่อนทุกคนดีมากๆเลย ไม่รู้จะบอกอย่างไรเหมือนกัน มันอธิบายไม่ถูก แต่ขอให้ทุกคนรู้ไว้ว่า "รักทุกคนมากๆ" ขอบคุณสำหรับมิตรภาพดีๆที่มอบให้ สัญญาว่าจะไม่ลืม เพื่อน พี่ น้อง ป.บัณฑิตรุ่น 2 ทุกคนค่ะ
 



วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทฤษฏีการเรียนรู้ของ Skinner

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทำของสกินเนอร์

 
       Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "
      การเสริมแรง(Reinforcement ) หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
 1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
 2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้า
 
 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ
        ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant Conditioning Theory) เกิดขึ้นโดยมีแนวความคิด ของสกินเนอร์ (D.F. Skinner) ในสมัยของสกินเนอร์ ปี 1950 สหรัฐอเมริกาได้เกิดวิกฤติการการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพเขาจึงได้คิดเครื่องมือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่คิดขึ้นมาสำเร็จเรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม(Program Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching Machine) เป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner)กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น
                                                                              

           Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม " ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน(Antecedent) - พฤติกรรม(Behavior) - ผลที่ได้รับ(Consequence)
ซึ่งเขาเรียกย่อๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ


     การศึกษาในเรื่องนี้ Skinner ได้สร้างกล่องขึ้นมา มีชื่อเรียนกว่า Skinner Box กล่องนี่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีคานหรือลิ้นบังคับให้อาหารตกลงมาในจาน เหนือคานจะมีหลอดไฟติดอยู่ เมื่อกดคานไฟจะสว่างและอาหารจะหล่นลงมา Skinner Box นำนกไปใส่ไว้ในกล่อง และโดยบังเอิญนกเคลื่อนไหวไปถูกคานอาหารก็หล่นลงมา อาหารที่นกได้นำไปสู่การกดคานซ้ำและการกดคานแล้วได้อาหาร

การเสริมแรง(Reinforcement )
        การเสริมแรง(Reinforcement ) หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
 1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
 2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำออกใช้แล้ว ทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น เสียงดัง คำตำหนิ อากาศร้อน กลิ่นเหม็น เป็นตัวเสริมแรงทางลบ
การลงโทษ (Punishment) การเสริมแรงทางลบและการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและมักจะใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่การอธิบายของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน โดยเน้นว่าการลงโทษเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม


วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สรุปงาน GDT407 ครั้งที่ 1

ตอนเช้า
          
ความหมายของเทคโนโลยี
              เทคโนโลยี (Technology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Tech = Art ในภาษาอังกฤษ Logos = A study of   คำว่า เทคโนโลยี จึงหมายถึง A study of art  นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี เช่น ชาร์ลส์ เอฟ. โฮบาน (Charles F. Hoban 1965 : 124) ,คาร์เตอร์ วี กู๊ด (Carter V. Good 1973 : 592) ,เอคการ์ เดล (Edgar Dale 1957 : 610), ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2520 : 35) ไปในทำนองเดียวกันกล่าวคือ เทคโนโลยี เป็นการนำเอาวิธีการ แนวคิดใหม่ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบในการพัฒนาและปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และจากการขยายตัวทางวิทยาการทำให้เทคโนโลยีในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์สูงสุด

เทคโนโลยีต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 
           1. ข้อมูล  (Input)  ที่ใส่เข้าไป ได้แก่ การกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
                  2. กระบวนการ (Process)  ได้แก่ การลงมือแก้ปัญหา แจกแจงวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
                  3. ผลลัพธ์ (Output)  คือ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหาและทำการประเมินผล
เทคโนโลยีต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ