วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล

ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater)
          เป็นอุปกรณ์ที่ทวน และขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลัง การรับ-ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่อง เมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น


สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge) 
          เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โทเคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูลได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลง และติดตั้งง่าย


เร้าเตอร์ (Router) 
           เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้าย สวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อ ระบบที่ใช้สื่อ หรือสายสัญญาณต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) ที่ส่งข้อมูลแบบ ยูทีพี (UTP: Unshield Twisted Pair) เข้ากับ อีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล (Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือก หรือกำหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่ง แน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น 

 เกทเวย์ (Gateway)            เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่ง โปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกทเวย์ จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วยกัน






วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ




      เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการสังคม ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณธรรม คุณภาพ และทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมไทย และประเทศไทย  วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นเลิศทางความคิด (ปัญญาและความดี) ทางวิชาการ (ความรู้ สู่อาชีพ) และการดำรงชีวิต (การปฏิบัติสู่ความสุข) ควบคู่กันไปทั้งสามด้าน เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยคุณภาพแห่งชีวิต
มาร์ช วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
                                   ณ     ถิ่นแดงขาวทองแห่งนี้    คือสถาบันที่ทรงคุณค่า                        
                           ใกล้ไกลต่างหมายมุ่งมา                 วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ       
                           พัฒนาวิชาการ   ก้าวล้ำ                  คุณธรรมยึดไว้แน่วแน่  
                          ใช้ปัญญาส่องสว่างรุ่งเรือง               รักเพื่อนมนุษย์เสมือนตนเอง  
                          กัลปพฤกษ์ยืนต้น  เด่นสง่า               ย้ำเตือนพาสร้างสงบทุกแห่งหน  
                          ความเป็นไทยรักษาไว้ทุกคน            สามัคคีเชื่อมใจคนดุลเชือกเกลียว  
                          ณ ถิ่นแดงขาวทองแห่งนี้                  บี เอส ซี  เรางามสง่า  
                         จะร่วมกันสร้างชาติพัฒนา                 วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ  

การเรียน ป.บัณฑิต   
              ตอนแรกก็ไม่คิดที่จะเรียน แต่พอคิดอีกทีว่าตัวเองก็มาทางด้านนี้แล้วน่าจะมำให้มันดีกว่าเดิม ก็เลยตัดสินใจที่จะเรียน ป.บัณฑิต ขึ้นมา ตอนรุ่นที่ 1 ยังคิดเสียดายอยู่เลยเพราะว่าตนเองไม่ได้ทราบข่าวคราวอะไรเลยว่ามีการเรียนที่ โรงเรียนบริหารธุรกิจกรุงเทพ แถวเชิงสะพานพระโขนง มารู้เอาตอนหลังรุ่นพี่เขาก็กำลังจะเรียนจบแล้ว พอดีว่าวันนั้น รศ.ดร.สุวัฒน์ เข้าไปนิเทศน์รุ่นพี่ที่โรงเรียน ก็เลยมาลองคุยกับ  รศ.ดร.สุวัฒน์ หลังจากนั้นก็สมัครผ่านดินเตอร์เน็ต แล้วมาขำระเงินภายหลัง ก่อนเปิดเรียนจริงๆก็เครียดเหมือนกันว่าตัวเองจะเรียนไหนมั้ย เรียนด้วยทำงานด้วย คงจะเหนื่อยน่าดู แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ต้องทำใจยอมรับความจริง เพื่อนๆก็เก่งๆกันทุกคนเลยแต่ละคนก็มีความสามารถแตกต่างกันออกไป เรียนแค่ 5 ครั้งก็สอบ ก่อนสอบทีไรเคลียดทุกที แต่เราก็ต้องสู้และทำหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด ผลที่ได้รับกลับมาก็ดีเกินคาด บางทีก็ยังคิดเลยว่า ได้มาได้อย่างไร งง งง บ้างบางครั้ง แต่ก็แอบปลื้มใจสุดๆ
สิ่งที่ได้รับจากการที่มาเรียนที่วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ             
               สิ่งที่ได้รับจากการที่มาเรียนที่วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ อันดับแรกเลยคือ ได้เพื่อน แม้ว่าเราจะไม่เคยรู้จักกันเลย แต่ตลอกระยะเวลาที่ผ่านมาซึ่งพอเราเพิ่งจะได้สนิทกันมากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าเวลามันจะน้อยซะแล้ว เหลือเวลาอีกแค่ วิชาเดียวเท่านั้นก็จะจบแล้ว เร็วเหมือนกัน รู้สึกว่าเพาเพิ่งจะเรียนไปเองนะ จะจบแล้วเหรอ เพื่อนทุกคนดีมากๆเลย ไม่รู้จะบอกอย่างไรเหมือนกัน มันอธิบายไม่ถูก แต่ขอให้ทุกคนรู้ไว้ว่า "รักทุกคนมากๆ" ขอบคุณสำหรับมิตรภาพดีๆที่มอบให้ สัญญาว่าจะไม่ลืม เพื่อน พี่ น้อง ป.บัณฑิตรุ่น 2 ทุกคนค่ะ
 



วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทฤษฏีการเรียนรู้ของ Skinner

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทำของสกินเนอร์

 
       Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "
      การเสริมแรง(Reinforcement ) หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
 1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
 2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้า
 
 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ
        ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant Conditioning Theory) เกิดขึ้นโดยมีแนวความคิด ของสกินเนอร์ (D.F. Skinner) ในสมัยของสกินเนอร์ ปี 1950 สหรัฐอเมริกาได้เกิดวิกฤติการการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพเขาจึงได้คิดเครื่องมือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่คิดขึ้นมาสำเร็จเรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม(Program Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching Machine) เป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner)กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น
                                                                              

           Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม " ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน(Antecedent) - พฤติกรรม(Behavior) - ผลที่ได้รับ(Consequence)
ซึ่งเขาเรียกย่อๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ


     การศึกษาในเรื่องนี้ Skinner ได้สร้างกล่องขึ้นมา มีชื่อเรียนกว่า Skinner Box กล่องนี่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีคานหรือลิ้นบังคับให้อาหารตกลงมาในจาน เหนือคานจะมีหลอดไฟติดอยู่ เมื่อกดคานไฟจะสว่างและอาหารจะหล่นลงมา Skinner Box นำนกไปใส่ไว้ในกล่อง และโดยบังเอิญนกเคลื่อนไหวไปถูกคานอาหารก็หล่นลงมา อาหารที่นกได้นำไปสู่การกดคานซ้ำและการกดคานแล้วได้อาหาร

การเสริมแรง(Reinforcement )
        การเสริมแรง(Reinforcement ) หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
 1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
 2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำออกใช้แล้ว ทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น เสียงดัง คำตำหนิ อากาศร้อน กลิ่นเหม็น เป็นตัวเสริมแรงทางลบ
การลงโทษ (Punishment) การเสริมแรงทางลบและการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและมักจะใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่การอธิบายของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน โดยเน้นว่าการลงโทษเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม


วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สรุปงาน GDT407 ครั้งที่ 1

ตอนเช้า
          
ความหมายของเทคโนโลยี
              เทคโนโลยี (Technology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Tech = Art ในภาษาอังกฤษ Logos = A study of   คำว่า เทคโนโลยี จึงหมายถึง A study of art  นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี เช่น ชาร์ลส์ เอฟ. โฮบาน (Charles F. Hoban 1965 : 124) ,คาร์เตอร์ วี กู๊ด (Carter V. Good 1973 : 592) ,เอคการ์ เดล (Edgar Dale 1957 : 610), ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2520 : 35) ไปในทำนองเดียวกันกล่าวคือ เทคโนโลยี เป็นการนำเอาวิธีการ แนวคิดใหม่ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบในการพัฒนาและปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และจากการขยายตัวทางวิทยาการทำให้เทคโนโลยีในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์สูงสุด

เทคโนโลยีต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 
           1. ข้อมูล  (Input)  ที่ใส่เข้าไป ได้แก่ การกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
                  2. กระบวนการ (Process)  ได้แก่ การลงมือแก้ปัญหา แจกแจงวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
                  3. ผลลัพธ์ (Output)  คือ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหาและทำการประเมินผล
เทคโนโลยีต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ